Author

ชุดา ลิมป์กมลธรรม (หมวย)
About the Author
Speaker หมวย "เป็นคนชอบหาเรื่องใส่ตัว" ด้วยการเอาตัวเองไปละเลงอยู่ในกองข้อมูลหลากหลาย ที่ใครๆก็บอกว่าเลอะเทะ เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ให้กับชีวิต เพราะเมื่อก่อนเรา (เคย) เป็นคนตกยุค ไม่สนใจข้อมูล กลัวความเปลี่ยนแปลง แต่เลือกกระโจนมาสายคอนเทนต์เพราะอยากท้าทายตัวเอง *โดยคิดเสมอว่า ต่อให้เป็นเรื่องเล็กน้อยขนาดไหน ก็เอามาปั้นเป็นไอเดียที่สร้างสรรค์ได้

10 Around EP.1 : 10 วิจัยประหลาด ที่ใครๆ ต่างบอกว่า เฮ้ย! วิจัยไปทำไมวะ

พูดถึงเรื่องความรู้จากงานวิจัย ไม่ใช่ทุกครั้งที่การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ จะต้องเป็นการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ สร้างคุณประโยชน์ให้กับมวลมนุษย์ชาติ แต่บางครั้งก็เป็นการค้นพบในเรื่องธรรมดาๆ แต่น่าพิศวง , การค้นพบที่ไม่รู้ว่าจะค้นพบไปเพื่ออะไรด้วยเช่นกัน และที่จะกล่าวต่อไปนี้คือการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่แปลกที่สุด หรือเรียกได้ว่าสำหรับในวงการวิทยาศาตร์แล้วอาจจะไม่มีประโยชน์ที่สุดเลยก็ว่าได้
โดยที่เว็บไซต์ข่าว และเว็บไซต์วิจัยที่เกี่ยวกับวิทยาศาตร์ของต่างประเทศ ได้เผยแพร่งานวิจัยต่างๆที่ได้รับการพูดถึงว่า แปลกประหลาดที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ซึ่งเราก็ได้รวบรวมงานวิจัยเหล่านั้นมาจัดอันดับตามความเห็นของเราและทีมงาน 10 อันดับ
1. นกหัวขวานจะปวดหัวมั้ย
งานวิจัยนี้ พูดถึงนกหัวขวาน Pileated ซึ่งเป็นนกหัวขวานที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาเหนือ มันใช้หัวของพวกมันเองเจาะกระแทกต้นไม้ด้วยแรงเฉลี่ย 15 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 20 ครั้งต่อวินาที จึงทำให้นักวิทยาสาตร์ตั้งข้อสงสัยว่าแล้วหัวของพวกมันจะไม่ปวดไม่บุบสลายได้ยังไง
นักวิจัยพบว่า ส่วนหัวและร่างกายของนก ได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับแรงกระแทกได้ โดยที่กล้ามเนื้อคอของมันแน่นและหนา เปลือกตาด้านในหนา แรงบางส่วนจะแผ่กระจายลงไปที่กล้ามเนื้อคอ เพื่อป้องกันช่วงหัวกะโหลก ส่วนกระดูกภายในกะโหลกก็จะมีเบาะรองคล้ายฟองน้ำเช่นกัน
ในขณะเดียวกันเปลือกตาหนาๆของนกทำหน้าที่เหมือนเข็มขัดนิรภัยและป้องกันไม่ให้ดวงตาโผล่ออกมาจากหัว ตามันจะปิดลง ป้องกันดวงตาจากชิ้นไม้ ที่กระเด้งออกมาจากต้นไม้ ทำให้ไม่ได้รับความไม่เสียหาย
สุดท้าย นักวิทยาศาสตร์จึงสรุปไปว่า ไม่แน่ใจว่านกหัวขวานไม่ปวดหัว แต่นกมีความอดทนต่อความเจ็บปวดต่ำ เพราะฉะนั้นสิ่งที่มันทำอาจจะไม่ก่อให้เกิดอาการปวดหัว หรือเกิดอาการปวดหัวอย่างน้อยที่สุดนั่นเอง
2.น้ำ กับ น้ำเชื่อม มนุษย์จะว่ายที่ไหนได้เร็วกว่ากัน
จะเป็นยังไงเมื่อ นักวิทยาศาสตร์ Edward Cussler จากมหาวิทยาลัยมินนิโซตามินนิอาโปลิส สงสัยว่า มนุษย์ว่ายน้ำในน้ำเชื่อมช้ากว่าในน้ำหรือไม่ นักวิทยาศาสตร์จึงได้ทดลองให้ว่ายน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำเชื่อมอยู่และพิสูจน์มัน
โดยใช้ Guar gum เป็นสารเพิ่มความหวาน ความหนืดหนา ที่กินได้ (ที่ผสมในน้ำสลัดครีมไอศกรีมและแชมพู) มากกว่า 300 กิโลกรัม แล้วเทลงในสระว่ายน้ำยาว 25 เมตร สร้างของเหลวที่มีความหนาเป็นสองเท่าของน้ำ และหาอาสาสมัครนักที่เป็นว่ายน้ำแข่งขัน 16 คน ว่ายน้ำในสระว่ายน้ำปกติและในน้ำเชื่อม
ผลปรากฎว่า ไม่ว่าพวกเขาจะใช้จังหวะใดก็ตาม เวลาการว่ายน้ำนั้นช้าแตกต่างกันไม่เกิน 4% โดยที่ทั้งน้ำและน้ำเชื่อมไม่ได้ทำให้ว่ายเร็วขึ้นอย่างต่อเนื่องได้
นักวิทยาศาสตร์จึงสรุปว่า การว่ายน้ำที่สมบูรณ์แบบไม่ว่าจะในน้ำหรือน้ำเชื่อม หากมีกล้ามเนื้อที่ทรงพลัง มีส่วนหน้าที่แคบ ก็จะเป็นนักว่ายน้ำที่ดีที่สุด
3. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ปัสสาวะในเวลาเท่ากันหรือไม่
ทีมนักวิจัยชาวอเมริกันและไต้หวัน จาก Georgia Institute of Technology ในแอตแลนต้า อยากจะศึกษาเรื่องของการปัสสาวะว่ามีกฎเกณฑ์อะไรหรือไม่ โดยพวกเขาได้ศึกษาวิดีโอของสัตว์ขนาดต่าง ๆ ตั้งแต่ช้างยันหนู ที่ได้บันทึกไว้ขณะไปเข้าห้องน้ำ
โดยเขาพบว่า พวกเราทั้งหมดสามารถฉี่ออกมาจนหมดกระเพาะปัสสาวะได้ในเวลา 21 วินาที รวมไปถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีน้ำหนักมากกว่า 3 กิโลกรัมด้วย
เพราะถึงแม้ว่าช้างจะมีกระเพาะปัสสาวะขนาดใหญ่ แต่ก็มีท่อปัสสาวะที่ยาวขึ้นและกว้างขึ้น หมายความว่าปัสสาวะสามารถรับความเร็วที่สูงกว่าสัตว์ขนาดเล็กและอัตราการไหลของมันเพิ่มขึ้นเนื่องจากผลของแรงโน้มถ่วง
และในขณะที่สัตว์ขนาดเล็กมีท่อปัสสาวะสั้นกว่า เล็กกว่า จึงมีปัสสาวะน้อย ทำให้อัตราการไหลช้าลง สงสัยเราคงต้องลองจับเวลาดูบ้างแล้ว
4. เราปรบมือทำไมหลังดูโชว์ เพราะอะไรกันแน่ เพราะปรบมือติดต่อถึงกันได้
บางครั้งเราอาจจะสังเกตเห็นว่า เราเผลอปรบมือหลังจากชมการแสดงหรืออะไรบางอย่างที่น่าเบื่อหรือธรรมดางั้นๆ ซึ่งในเรื่องนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยอัปซาลา ประเทศสวีเดน ได้ทำการวิจัยเรื่องเหตุผลของการปรบมือ จนถูตีพิมพ์ในวารสาร Royal Society Interface
ดร. ริชาร์ดแมนน์ สรุปผลออกมาว่า สิ่งที่ทำให้เราปรบมือ ไม่ได้เกิดจากคุณภาพของสิ่งที่เห็น หรือคุณภาพจากการแสดง หรือสิ่งที่เรานั้นชื่นชอบชื่นชมทั้งหมด
แต่มันเกิดจากอิทธิพลของคนรอบข้างต่างหาก นั่นคือ เมื่อคนรอบข้างเราปรบมือเราก็จะเผลอปรบมือตามไปด้วย
นักวิจัยทดสอบโดยศึกษาภาพวิดีโอของกลุ่มนักศึกษาปริญญาตรีในขณะที่ดูการนำเสนอ ซึ่งผู้ชม 1 คน เฉลี่ยจะปรบมือ 10 ครั้ง แต่บางครั้งก็ตบมือแค่สามครั้ง เนื่องจากอาจต้องใช้เวลาเพียงหนึ่งหรือสองคนในการรวบรวมเสียงปรบมือเพื่อให้ฝูงชนปรบมือตาม เพราะเสียงปรบมือดังกล่าวก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ที่ซึ่งเสียงถูกกระตุ้นโดยสมาชิกผู้ชมคนอื่น ๆ เข้าร่วมนั่นเอง
(แต่จริงๆ แล้ว การปรบมือหลังจากชมการแสดง ถึงแม้จะไม่ได้ทรงคุณค่า หรือมีคุณภาพสักเท่าไหร่ แต่ด้วยมารยาททางสังคมแล้วเราควรจะปรบมือเพื่อเป็นการให้เกียรติต่อการแสดง นั้นๆ โดยไม่ต้องรอให้มีคนหนึ่งคนใดปรบมือนำเสมอไป)
5. หมัดหมากระโดดได้สูงมากจริงๆมั้ย
ผลงานวิจัยเรื่องนี้ ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Veterinary Parasitology เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์เกิดสงสัยขึ้นมาดื้อๆว่า พวกหมัดหมาสามารถกระโดดได้สูงแค่ไหน
โดยผลการวิจัยบอกว่าหมัดหมานั้นสามารถกระโดดได้สูงมากจริงๆ มากกว่าหมัดแมวซะอีก โดยหมัดแมวกระโดดระยะทางแนวนอนเฉลี่ย 8 นิ้ว (20 ซม.) และความสูงเฉลี่ย 5.2 นิ้ว (13.2 ซม.) ส่วนหมัดหมามันสามารถกระโดดได้ไกลถึง 19 นิ้ว (48 ซม.เกือบ 50) และ สูงถึง 7.9 นิ้ว (20 ซม.)
ลองคิดดูว่าถ้าขนาดตัวมันเท่ากับคนอย่างเราๆ มันจะกระโดดได้สูงมากขนาดไหน แต่สำหรับวงการวิทยาศาสตร์แล้ว ไม่ทราบว่า ผลการทดลองนี้สามารถนำไปใช้ศึกษาต่อเพื่อประโยชน์ในด้านไหนกันแน่
6. แกล้งคนอื่นเพราะรู้สึกสนุกจริงๆ
นักจิตวิทยา เบนจามิน ลาฮีย์ จากมหาวิทยาลัย Chicago สหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาว่าคนที่ชอบแกล้งคนอื่น ทำร้ายจิตใจคนอื่นนั้น เขารู้สึกอย่างไรกับการกระทำตัวเองกันแน่? เขาทำไปเพราะคิดอยากสนุกหรือเปล่า
โดยได้ศึกษาเด็กชาย 8 คนอายุ 16 -18 ปีที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อเด็กวัยรุ่นอีก 8คนซึ่งไม่มีอาการก้าวร้าวผิดปกติเด็กชายซึ่งเขาได้เข้าไปก่อกวนขู่เข็ญ เริ่มการต่อสู้ ใช้อาวุธทำให้เจ็บปวด หลังจากได้เจอหน้า พร้อมกับติดตามการทำงานของสมองด้วยการถ่ายภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็กหรือ fMRI
ผลปรากฎว่า พื้นที่ของสมองในวัยรุ่นที่ชอบแกล้งมีการเชื่อมโยงกับความรู้สึกเหมือนได้รับรางวัลในสมอง เมื่อสังเกตเห็นความเจ็บปวดที่ถูกบาดแผลที่คนอื่น
คำตอบก็คือคนเหล่านั้นรู้สึกสนุกกับการแกล้งคนอื่นจริงๆ อาจไม่ได้ทำไปเพราะความแค้นใดๆ เลย
7. เป็ดบางตัวชอบมีอะไรกับศพhttps://www.theguardian.com/education/2005/mar/08/highereducation.research
นี่เป็นการศึกษาโดยนักวิจัยชาวดัตช์ Kees Moeliker จากพิพิธภัณฑ์ Annual of the Natural History Museum ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งบอกก่อนว่า งานวิจัยอันน่าระทึกใจนี้ มันทำให้เขาได้รับรางวัล Ig Nobel ทางชีววิทยาด้านการวิจัยที่ไม่น่าจะเป็นไปได้
ซึ่งงานนี้ผลพบว่าเป็ดบางตัวอาจเป็นพวก ชอบ “มีอะไรกับศพ” คือเป็ดตัวเมียบางตัวพยายามที่จะมีอะไรกันกับศพของเป็ดตัวผู้ หมกมุ่นอยู่กับการเที่ยวบินพยายามข่มขืน (แม้ตายแล้ว) เป็นประจำเมื่อถึงช่วงผสมพันธุ์ ซึ่งการบังคับขมขื่นถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการสืบพันธุ์ตามปกติของมัน
8. กลืนดาบส่งผลกระทบต่อช่องคอหรือไม่
Brian Witcombe นักวิจัยผู้ทำการศึกษากับนักแสดงโชว์กลืนดาบจำนวน 110 คน จาก 16 ประเทศ ซึ่งหลังจากลองทำการทดลอง พบว่าการกลืนดาบเข้าไปจะส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการเจ็บคอ บาดแผลภายใน และมันจะหนักกว่าเดิมหากเป็นดาบที่ใหญ่หรือคมกว่าปกติ
โดยจะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญระหว่างกลืนดาบ ซึ่งส่วนใหญ่อาจจะไปเจาะโดนหลอดอาหาร และทำให้เกิดอาการเจ็บคอหรือถ้าแสดงบ่อยเกินไป ก็อาจมีเลือดออกในทางเดินอาหาร พร้อมกับปวดหน้าอกเป็นครั้งคราว ควรได้รับการรักษาจากแพทย์
9. การรักษาอาการสะอึก ด้วยการนวดลำไส้
งานวิจัยในปี 1998 ที่ถูกตีพิมพ์ลงวารสารการแพทย์ Annals of Emergency Medicine บอกว่าเราสามารถแก้อาการสะอึกได้ด้วยการนวดลำไส้ หรือวิธีการง่ายๆ คือการให้ใครสักคนเอานิ้วแหย่เข้าไปในรูทวาร นวดคลึงบริเวณนั้น (แล้วใครจะสามารถล้วงลงไปทำแบบนั้นได้)
ผลสรุปนี้เริ่มต้นมาจากชายวัย 60 ปี ที่มีตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน จนพัฒนาเป็นอาการสะอึกแบบถาวร ซึ่งหลังจากนั้นเขารักษาด้วยวิธีการใส่ท่อ nasogastric ลงไปภายในร่างกาย แต่ก็ไม่ได้ยุติอาการสะอึกใดๆเลย มีการพยายามรักษาด้วยยาสรรพคุณต่างๆแล้วหลายครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
หมอจึงได้ทำการนวดทางทวารหนักแบบดิจิตอล (ใช้เครื่องมือวิธีการทางแพทย์) อาการสะอึกจึงหยุดชะงักลงและหายไป ทั้งนี้นักวิจัยแนะนำว่าควรพิจารณาสาเหตุอาการสะอึกให้ดีก่อน
10. คนจะสวมเสื้อหลายชั้นต่อเมื่อพวกเขาหนาว
นักวิจัยในประเทศอิตาลีและเดนมาร์ก ทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของการแต่งกาย พบว่าผู้คนจะแต่งชุดตามสภาพอากาศที่เผชิญอยู่ ยิ่งหนาวก็จะยิ่งใส่เสื้อหนาขึ้น หลายชั้นขึ้น แต่ถ้าเริ่มร้อนก็จะถอดออกมาสักชิ้น โอโห ไม่เคยรู้มาก่อนเลยนะเนี่ย
โดยวิเคราะห์พฤติกรรมการใส่เสื้อผ้า จากการตรวจสอบพารามิเตอร์ภายนอก และในร่มที่จะกระตุ้นให้คนเลือก คือ ในอาคารปรับอากาศ และบริเวณระบายอากาศตามธรรมชาติ ผลกระทบของอุณหภูมิภายนอก กลางแจ้ง ดูเหมือนว่าจะส่งผลกระทบต่อการเลือกเสื้อผ้าของผู้คนมากที่สุด ร้อนก็จะใส่เสื้อผ้าน้อยชิ้น รวมถึงเลือกเนื้อผ้าที่ใส่สบาย และเมื่อภาพอากาศให้มีอุณหภูมิต่ำลงคนก็จะสวมเสื้อผ้าที่หนาขึ้น หลายชิ้นขึ้นนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากงานวิจัยเหล่านี้ ที่หลายๆฝ่ายมองว่าแปลกประหลาด ไม่น่าเชื่อถือ แต่สำหรับงานวิจัยที่ให้ความรู้ตามปกติ ก็ยังเกิดข้อสงสัยจากนักวิทยาศาสตร์ด้วยกันเอง จนเกิดเป็นงานวิจัยซ้อนอีกชั้นว่า “คนเราจะเชื่องานวิจัยได้แค่ไหนกันแน่”
ซึ่งผลที่สรุออกมาคือ ช่วงหลังมานี้ ระดับคุณภาพการวิจัยและประสิทธิผลเริ่มลดลด เนื่องจากมีวิจัยมากมายออกมา แต่กลับเป็นเรื่องที่ซ้ำ หรือคล้ายกับเรื่องๆก่อนหน้า ซึ่งนักวิจัยก็กล่าวว่าผลมันไม่ได้สร้างประโยชน์เพิ่มขึ้นมาจากเดิมซักเท่าไหร่นั่นเอง

10 Around EP.0 รู้จัก 10 Around

Ep.0 : 10 Around รายการเปิดซิง สารพัดเรื่องจริงที่คุณอาจไม่เคยรู้จากทั่วโลก รับรอง รู้แล้วอาจต้องร้อง เห้ย จริงดิ!!

จุดเริ่มต้นของการที่หมวยทำ podcast นี่ขึ้นมา เริ่มมาจากตัวเราเอง ที่ในวันหนึ่ง นอกเหนือจากการทำงาน เราก็แค่นั่งสไลด์มือถือ เช็คเฟซบุ๊ก อ่านข่าวที่เราสนใจ ดูละคร ดูรายการย้อนหลัง เผือกดาราและเม้าท์ชาวบ้าน ไม่ได้ค้นคว้าหาความรู้อื่นๆ รอบตัวที่เฉพาะเจาะจงและมีประโยชน์ให้กับตัวเองบ้างเลย

หลังจากนั้น หมวยได้มีโอกาสได้เรียนรู้เรื่องราวแปลกใหม่จากน้องคนหนึ่ง ซึ่งเป็นเด็กผู้ชายวัยกำลังซน ช่วยแม่ขายข้าวโพดฝักอยู่ในตลาด น้องคนนั้นหลอกขอเงินแม่ไปซือลูกชิ้นได้ ด้วยการเล่นเกมเลือกทายจำนวนแถวข้าวโพดบนฝักว่าเป็นจำนวนคู่ หรือจำนวนคี่

โดยที่น้องเค้ารู้ดีอยู่แล้วว่า จำนวนแถวเม็ดข้าวโพดมักเป็นเลขคู่เสมอ ตามการแบ่งเซล์ทางวิทยาศาสตร์ จึงเลือกทายว่าเป็นจำนวนคู่ และนี่เป็นเหตุผลที่ทำให้น้องได้กินลูกชิ้นตามที่หวังไว้สำเร็จ หมวยเลยรู้สึกว่า ความรู้แบบที่คนอื่นไม่รู้ทำให้คนเราดูฉลาดที่ขึ้นมาทันที

เพราะฉะนั้น หมวยจึงอยากจะเสาะหาความรู้อื่นๆ ที่ไม่ใช่เรื่องทั่วไป เป็นความรู้ที่แอดวานซ์ขึ้นกว่าเดิม แปลกใหม่รอบตัว  รู้แล้วจะร้อง เฮ้ย น่าสนใจอะ เฮ้ยแปลกดี… ให้กับชีวิตบ้าง รวมถึงนำมาแชร์ให้กับทุกคนได้ฟังด้วยเช่นกัน

แต่หลายคนอาจจะคิดว่า แล้วไง? บางเรื่องไม่จำเป็นต้องรู้เลย มันไม่ได้มีอิทธิพลต่อร่างกายหรือชีวิตเราโดยตรงมากมาย ไม่ได้เป็น 1 ใน ปัจจัย 4 ไม่ได้อยู่ในความสนใของเราด้วยซ้ำ เราเลยคิดว่าไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้

แต่ความเป็นจริงแล้ว เรื่องรอบตัวเหล่านี้  มันให้ทั้งความรู้ ให้ทั้งไอเดีย ในเวลาเดียวกัน

– คุณรู้รึเปล่า ว่านักวิทยาศาสตร์เผยว่า ในอดีตโลกเคยมีดวงจันทร์ 2 ดวง ก่อนที่จะเกิดการชนกัน จนถูกดวงจันทร์ดวงปัจจุบัน ดูดเข้าไปรวมเป็นดวงจันทร์ดวงเดียวกัน ตามที่เราเห็นอยู่
– หรือรู้รึเปล่า ว่าเวลาที่เราจามหนึ่งครั้งจะมีความเร็วของอากาศที่พุ่งออกมาจะเร็วถึง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

เรื่องราวเหล่านี้ อาจสิ่งธรรมดาๆรอบตัวเรา แต่เมื่อได้เรียนรู้แล้ว…
“มันอาจจะเป็นประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นของไอเดียดีๆ ในวันใดวันหนึ่ง ที่คุณต้องการใช้มันก็ได้นะคะ”

ซึ่ง 10 Around จะแบ่งเป็นหมวดต่างๆ หมวดละ 10 เรื่องในแต่ละตอน ฟังกันไปเพลินๆเลย… เชื่อว่า เรื่องราวใน podcast นี้ จะสร้างความสุขกระตุกรอยยิ้มมุมปากของคุณผู้ฟังได้ ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน

เอาล่ะ ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบเรียนรู้ความแปลกใหม่ และชอบค้นหาความเป็นไปของสิ่งรอบๆตัวคุณแล้วล่ะก็ เรามาร่วมเปิดซิงเรื่องจริงจากทั่วโลกไปพร้อมๆ กัน ทุกวันศุกร์นะคะ ^^